วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การพับกระดาษแบบญี่ปุ่น โอ ริงามิ




ในประเทศญี่ปุ่น เด็กๆเริ่มรู้จักโอริงามิตั้งแต่ยังแบเบาะ เรียกได้ว่ายังไม่เข้าโรงเรียนก็รู้จักโอริงามิเสียแล้ว ส่วนในประเทศตะวันตก โอริงามิเป็นเครื่องมือประกอบการสอนที่มีลักษณะพิเศษและเป็นหลักสูตรเสริมในโรงเรียนหญี่ปุ่นเรียกการพับกระดาษเป็นรูปต่างๆ ว่า โอริงามิ
วารสาร "นิปโปะเนีย ค้นหาญี่ปุ่น" เล่าประวัติความเป็นมาของ โอริงามิ ว่า เป็นทั้งกิจกรรมยามว่างและศิลปะที่เป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมาช้านาน
วิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นในอดีตผูกติดกับการเกษตร ในแต่ละฤดูกิจกรรมของชาวไร่ชาวนาสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรอบปี งานต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
ช่วงที่ชาวบ้านทำของถวายเทพเจ้า จะจัดเรียงบนกระดาษที่พับอย่างเป็นทางการ ส่วนสิ่งของที่ใช้ในเทศกาลต่างๆ ก็จะห่อในกระดาษที่มีแบบแผนตาม สันนิษฐานว่า ธรรมเนียมปฏิบัตินี้เริ่มขึ้นในสมัยมุโระมาจิ ราวศตวรรษที่ 14-16 เป็นยุคที่เน้นความสำคัญเรื่องมารยาทและสมบัติผู้ดี ดังนั้นการห่อของขวัญต่างๆ จึงพัฒนาขึ้นโดยใช้กระดาษที่มีลวดลายสวยงาม เรียกว่า โอริคะตะ หรือ โอริงะตะ เป็นรากฐานของ โอริงามิ
โอริคะตะ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสมัยมุโระมาจิและหลังจากยุคนี้ โดยมีหนังสือชื่อ โฮเคะทซึคิ แปลว่า การห่อและมัดสิ่งของ ตีพิมพ์ในปีค.ศ.1764 กลายเป็นสื่อที่กระตุ้นให้ผู้คนสนใจเทคนิคการพับกระดาษอย่างแพร่หลาย
นอกจากนี้ยังมีหนังสือชื่อ เซ็นบะซุรุ โอริคะตะ หรือ การพับนกกระเรียนพันตัว แต่งโดยพระภิกษุโระโคอัน ในปี 1797 บรรยายถึงวิธีการพับนกกระเรียนกระดาษ 49 แบบเพื่อเชื่อมให้ติดกัน
หลังจากนั้นศิลปะโอริคะตะ วิวัฒนาการไปเป็นกิจกรรมยามว่างของกลุ่มสามัญชนโดยทั่วไป มีภาพตัวอย่างของการตกแต่งห่อของขวัญ ผูกสิ่งของในหนังสือเล่มต่างๆ และพัฒนาไปสู่การพับกระดาษเรียกว่าโอริงามิ
ในปีค.ศ.1973 สมาคมนิปปอน โอริงามิ จัดตั้งขึ้นและทำหน้าที่รวบรวมสัญลักษณ์และคำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้อธิบายและพรรณนาเทคนิคการพับ โอริงามิ เป็นแบบแผนเดียวกัน ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบ โอริงามิ จึงรับเอาคำศัพท์และภาพตัวอย่างมาใช้
สมาคมนี้ได้รับการสนับสนุนให้จัดงานนิทรรศการโอริงามิในระดับโลกมาแล้วทั้งหมด 12 ครั้ง รวมถึงนิทรรศการอื่นๆ อีกมาก จากนั้นมีนิตยสารรายเดือน เก็กคัง โอริงามิ เปิดตัวในปี 1975 นำเสนอความสนุกจากการพับกระดาษให้โอริงามิเผยแพร่ไปทั่วโลกลายแห่ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น